บทที่ 2 ขั้นตอนการแก้ไขปัญหาและองค์ประกอบของโปรแกรมภาษาจาวา

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
    1.   อธิบายความหมายของอัลกอริทึมได้
    2.   บอกขั้นตอนการเขียนอัลกอริทึมได้
    3.  บอกรูปแบบการเขียนอัลกอริทึมได้
    4.   เขียนอัลกอรึทึมได้
    5.   จำแนกรูปแบบการเขียนโปรแกรมในภาษาจาวาพื้นฐาน
    6.   บอกสถานะโครงสร้างภาษาจาวาทั่วไป
    7.   ปฏิบัติการประกาศคลาส
    8.   อธิบายกฎการระบุชื่อ
    9.   ปฏิบัติการคอมเม้นท์และการสร้างเอกสารในจาวา
    10. บอกหลักสากลนิยมในการระบุชื่อ
    11.  ระบุชื่อในภาษาจาวา
    12.  อธิบายการใช้งานทางคณิตศาสตร์ในภาษาจาวา
    13.  ปฏิบัติการแปลงชนิดของข้อมูล

    14.  สร้างและใช้งานเมธอด


ความหมายของอัลกอริทึม

อัลกอริทึม  (Algorithm) หมายถึงวิธีการที่ได้แบ่งออกเป็นตอนย่อยๆ ที่มีการทำงานที่แน่นอน หรือการอธิบายลำดับการทำงานในลักษณะของข้อความตั้งแต่ต้นจนจบว่ามีลำดับขั้นตอนการทำงานอย่างไรบ้าง ซึ่งเมื่อทราบขั้นตอนการทำงานที่แน่นอนแล้วก็จะนำ Algorithm ที่ได้นั้นมาวาดเป็น Flowchart จากนั้นจึงแปลง Flowchart เป็นภาษาระดับสูที่คอมพิวเตอร์เข้าใจอัลกอริทึมหรือขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหา เป็นการจัดลำดับความคิดเป็นขั้นตอนต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาในขั้นตอนการเขียนโปรแกรมที่สอดคล้องกรรมวิธีแก้ปัญหาที่กำหนดไว้ การเขียนอัลกอริทึมจึงเป็นการแสดงลำดับการทำงานตามการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ ที่พร้อมจะนำไปแปลงเป็นลำดับคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาที่เหมาะสม เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามลำดับอัลกอริทึมที่กำหนดไว้ และการเขียนอัลกอริทึมที่ออกมาให้ตรวจสอบความถูกต้องได้ครบถ้วน

รูปแบบการเขียนอัลกอริทึม

                ลำดับขั้นตอนวิธีการแก้ไขปัญหา ( Algorithm Development )สามารถเขียนลำดับขั้นตอนการทำงานได้ 2 แบบ คือ การอธิบายขั้นตอนการทำงานอย่างคร่าวๆ และการอธิบายขั้นตอนการทำงานอย่างละเอียดการอธิบายขั้นตอนการทำงานอย่างคร่าวๆ (Decomposition)  คือ การเขียนขั้นตอนการทำงานทั้งหมดโดยไม่ต้องละเอียดมากนัก และเขียนขั้นตอนการทำงานเป็นข้อๆ เข้าใจง่าย โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้ายที่จะส่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำการการแก้ไข้ปัญหา เช่น การคำนวณหาอัตราผ่อนชำระค่างวดรถจักยานยนต์รายเดือน สามารถเรียบเรียงการทำงานเป็นข้อๆ ได้ดังนี้
                           1. เริ่มต้น

                2. รับค่าของราคารถจักยานยนต์

                3. รับค่าของอัตราดอกเบี้ยรายปี

                4. รับค่าเช่าของจำนวนเดือนที่ต้องการผ่อนชำระ

                5. คำนวณหาค่าของจำนวนเงินที่ต้องชำระรายเดือน

                6. แสดงค่าของจำนวนเงินที่ผ่อนชำระรายเดือน

                7. จบการทำงาน

           การเขียนอธิบายลำดับขั้นตอนการทำงานในลักษณะของข้อความจะเริ่มต้นข้อแรกด้วยคำว่า "เริ่มต้น" หรือ "เริ่มต้นการทำงาน" ถัดจากนั้นเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานที่ใช้การแก้ไขปัญหา และ จบด้วยขั้นตอนสุดท้าย จะใช้ข้อความว่า "จบการทำงาน"

การอธิบายการทำงานอย่างละเอียด (Refinement) คือ การนำขั้นตอนการทำงานอย่างคร่าวๆ มาพิจารณาเพิ่มเติมข้อมูลบางอย่างที่ยังไม่เรียบร้อย แต่ละขั้นตอนที่อธิบายในส่วนของการอธิบายขั้นตอนการทำงานอย่างคร่าวๆ นั้น อาจมีต้องมีความละเอียดไม่เพียงพอที่จะนำไปสั่งงานให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน อาจต้องเขียนขยายความให้มีความละเอียดยิ่งขึ้นและสมบูรณ์มากขึ้น  หรือแบ่งการทำงานออกเป็นข้อย่อยเพิ่มเติม เช่น การคำนวณอัตราผ่อนชำระค่างวดรถจักยานยนต์รายเดือนที่แสดงไว้เป็นแบบคร่าวๆ ดังนั้น จึงต้องทำการอธิบายเพิ่มเติมในส่วนของขั้นตอในการคำนวณหาค่าของจำนวนเงินที่ต้องชำระรายเดือน โดยวิธีการคำนวณนั้นได้ทำในส่วนของการทดลองแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง (Hand Exampie) ดังนี้
                           1. เริ่มต้น

                2. รับค่าราคาจักรยานยนต์

                3. รับค่าของอัตราดอกเบี้ยรายปี

                4. รับค่าของจำนวนเดือนที่ต้องชำระรายเดือน

                5. คำนวณหาค่าของจำนวนเงินที่ต้องชำระรายเดือน

                5.1 ชำระ 24 เดือน อัตราดอกเบี้ยคิดเป็น 3% ต่อปี

                 5.2 ชำระ 36 เดือน อัตราดอกเบี้ยคิดเป็น 3.5% ต่อปี

                 5.3 ชำระ 48 เดือน อัตราดอกเบี้ยคิดเป็น 5% ต่อปี

                6. แสดงค่าของจำนวนเงินที่ผ่อนชำระรายเดือน

                7. จบการทำงาน

            หลังจากการทำการพัฒนาให้เป็นการอธิบายขั้นตอนการทำงานอย่างละเอียด (Refinement) เสร็จเรียบร้อย จะสามารถเห็นลำดับขั้นตอนการทำงานตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้ายละเอียดมากยิ่งขึ้น จำนวนข้อมูลของลำดับขั้นตอนการทำงานไม่จำเป็นต้องเท่ากับส่วนของในส่วนของการอธิบายลำดับขั้นตอนการทำงานอย่าง

คร่าวๆ (Decomposition) อาจจะสามารถอิบายลำดับขั้นตอนการทำงานได้อย่างละเอียดพออยู่แล้ว ก็สามารถนำในส่วนของการอธิบายขั้นตอนการทำงานอย่างคร่าวๆ มาใช้เป็นส่วนเป็นส่วนของการอธิบายขั้นตอนการทำงานอย่างละเอียด

การพัฒนาลำดับขั้นตอนการทำงานจากผัง ในแบ่งขั้นตอนการทำงานทั้งหมดออกเป็นข้อๆ ตามลำดับ ตามจำนวนของขั้นตอนการทำงานทั้งหมด และเขียนต้องไม่ซับซ้อน เข้าใจง่ายต้องเขียนให้ถูกต้องเสมอ เพราะถ้าเขียนไม่ถูกต้องแล้วการพัฒนาไปเป็นคำสั่งเทียม (Pseudo Code) ก็จะผิดพลาด และการเขียนโปรแกรมก็จะผิดตามด้วย
เทคนิคการเขียนอัลกอริทึม
             อัลกอริทึม เป็นขั้นตอนการบรรยายลำดับขั้นตอนการแก้ปัญหาระบบงานเป็นรายข้อ เพื่อแสดงให้เห็นถึงขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน และเพื่อใช้งานของอัลกอริทึมด้วย ก่อนศึกษา วิธีการเขียนอัลกอริทึม ควรมีความเข้าใจและคำนึงถึงคุณสมบัติพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ก่อนเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในขั้นตอนการเขียนอัลกอริทึมได้อย่างถูกต้องต่อไป


คุณสมบัติงานระดับพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ มีดังต่อไปนี้
1. คุณสมบัติด้านหน่วยความจำ
การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต้องเกี่ยวข้องกับการใช้งานหน่วยความจำของระบบคอมพิวเตอร์ ในภาษาคอมพิวเตอร์ให้แทนลักษณ์กำหนดพื้นที่หน่วยความจำ ด้วยการกำหนดชื่อเป็นตัวแปรใช้งาน เพื่อใช้อ้างอิงถึงข้อมูลในหน่วยความจำ เช่น
i  = 1 หมายถึงกำหนด 1 เก็บไว้ในตัวแปร i
Sun = Score1 + Score2   หมายถึง เอาค่า Score1 + Score2 แล้วเก็บค่าผลผลัพธ์ที่ได้ไว้ที่ตัวแปร Sum

Total = Bonus + Salay  หมายถึง เอาค่าตัวแปร Salay ไปบวกเข้ากับค่าในตัวแปร Bonus ผลลัพธ์ที่ได้จะเก็บที่ตัวแปร Total
2. คุณสมบัติด้านการคำนวณ

คุณสมบัติด้านการคำนวณในระบบคอมพิวเตอร์ระดับพื้นฐาน คือ สามารถดำเนินการ บวก ลบ คูณ หาร แต่ลักษณะการพิจารนาเลือกเลือกประมวลผลงานคำนวณของคอมพิวเตอร์นั้น มีความแตกต่างจากระบบการคำนวณทั่วๆไป คือ คอมพิวเตอร์คำนวณโดยพิจารนาลำดับความสำคัญของสัญญาลักษณ์เครื่องหมายการคำนวณที่ปรากฏในนิพจน์การคำนวณนั้นๆ เป็นสัญญาลักษณ์ที่ใช้ในการคำนวณและลำดับการทำงานของการคำนวณ
ตาราง 2.1  ลำดับในการคำนวณทางคณิตศาสตร์
เครื่องหมาย
ความหมาย
ลำดับการคำนวณ
( )
วงเล็บ
1
^
ยกกำลัง
2
*
การคูณ
3
/
การหาร
3
+
การบวก
4
-
การลบ
4


3. คุณสมบัติด้านการเปรียบเทียบเชิงตรรกะ

ความสามารถในการประมวลผลเชิงเปรียบเทียบ เป็นคุณสมบัติพื้นฐานอย่างหนึ่งของคอมพิวเตอร์โดยใช้หลักการทำงานของพีชคณิตพิจารณาเงื่อนไขที่ใช้นิพจน์แบบบูลีนประกอบการเขียนคำสั่ง เพื่อ กำหนดทางเลือกการทำงานสำหรับหาข้อสรุปของเงื่อนไขที่ผู้เขียนโปรแกรมกำหนดขึ้น เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถประมวลผล ตัดสินใจว่าหากเงื่อนไขเป็นจริงให้ดำเนินการคำสั่งใด และเงื่อนไขเป็นเท็จให้ดำเนินการคำสั่งใด การเขียนคำสั่งที่มีลักษณะของเงื่อนไข เพื่อให้เครื่องพิจารณาเลือกทิศทางการทำงานตามเงื่อนไขที่กำหนดนั้น มีสิ่งที่เกี่ยวข้องกับผู้พัฒนาโปรแกรม คือ ต้องศึกษาวิธีใช้สัญญาลักษณ์ในการเขียนประโยคคำสั่งแบบเงื่อนไขของแต่ละภาษาที่กำหนดให้เลือกใช้

ตารางที่ 2.2  สัญลักษณ์ตัวดำเนินการเชิงสัมพันธ์
ตัวดำเนินการ
ความหมาย
น้อยกว่า
มากกว่า
<=
น้อยกว่า หรือ เท่ากับ
>=
มากกว่า หรือ น้อยกว่า
=
เท่ากับ
<> 
ไม่เท่ากับ


4. คุณสมบัติด้านการแสดงผลค่าข้อมูล
                การอ่านข้อมูลพื้นที่หน่วยความจำที่เขียนคำสั่งแล้วนำไปเก็บไว้ หรือจากการคำนวณที่ต้องมีการนำค่าเก็บไว้ เพื่อนำมาแสดงผลลัพธ์ในรูปแบบและในตำแหน่งงานที่ต้องการ

คอมพิวเตอร์จะทำงานทีละคำสั่งตามลำดับจากบนลงล้าง หากเปรียบเทียบใน 1 บรรทัด คือ 1 คำสั่งแล้ว คอมพิวเตอร์จะทำงานตามคำสั่งที่อยู่บรรทัดบนสุดก่อน แล้วจึงจะทำงานตามคำสั่งที่อยู่ในลำดับต่อมา จนถึงคำสั่งบรรทัดสุดท้าย


รูปแบบการเขียนโปรแกรมในภาษาจาวาพื้นฐานในลักษณะโครงสร้างภาษาจาวาทั่วไป
การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาจาวาเป็นการเขียนโปรแกรมที่เรียกว่า การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object-Oriented Programming) ซึ่งรูปแบบการเขียยจะมีลักษณะแนวคิดที่ต่างจากการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง แต่ก็สามารถเรียกใช้คุุณสมบัติต่างๆ แบบดั้งเดิม (Primitive Type) ซึ่งจะได้จะได้กล่าวต่อไป องค์ประกอบที่ควรทราบเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมภาษาจาวา คือ
                >>คลาส (Class)
                >>คุณสมบัติ (Attribute หรือ Properties)
                >>เมธอด (Method)



รูปที่ 2.1 คลาสไดอะแกรมที่แสดงองค์ประกอบของคลาส
 



การประกาศคลาส

                   รูปแบบ




       จากตัวอย่าง เราจะได้ข้อมูลชนิดใหม่ขึ้นมา คือ คลาส SampleClass ซึ่งมีโครงสร้างประกอบไปด้วย Data Member และ Method Member ทั้งนี้จะมี Modifier Public เพื่อระบุว่าคลาสนี้สามารถเข้าถึงได้ทั่วไป
 กฏการระบุชื่อ (Identifier)
       >>การระบุชื่อจะต้องขึ้นต้นด้วยอักษรหรือเครื่องหมาย _ หรือเครื่องหมาย $ เท่านั้น 

ตัวอย่างที่ 2.1
                 

         >>ภายในตัวระบุชื่อจะต้องไม่มีสัญลักษณ์พิเศษอื่นๆ เช่น @,#,%,^,&,*,White space  (ตัวอักษรสีขาว เช่น space bar) ยกเว้น _ หรือ $
ตัวอย่างที่ 2.2


        >>ตัวระบุชื่อไม่จำกัดจำนวนตัวอักษร   
      
ตัวอย่างที่ 2.3



     
      การคอมเมนต์ และ การสร้างเอกสารในจาวา (Javadoc)
           การคอมมนต์ในจาวานั้นมีประโยชน์มาก เพราะสามารถใช้อธิบายโค้ดโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาในคลาส อินเตอร์เฟส เมธอด และคุณสมบัติ โดยเราสามารถเขียนได้หลายลักษณะ ซึ่งจะทำให้เราสามารถอธิบายการเขียนโปรแกรมเป็นภาาาที่เข้าใจง่ายทั้งตัวผู็เขียนเองหรือทีมงาน

   
  >>คอมเมนต์เป็นบรรทัด (Line Comments) จะใช้สัญลักษณ์ "//" แล้วตามด้วยคำคอมเมนต์ เช่น
                                                     
// คอมเมนต์บรรทัดเดียว
Int x = 0 ;

     
การสร้างเอกสารในจาวา (Javadoc)
            Javadoc คือ เครื่องมือที่สร้างเอกสารเป็น html คล้ายๆ กับการอ้างอิงที่ Java.sun.com
จากการคอมเมนต์แบบ Javadoc ในโค้ดใน Javadoc จะรู้จักรูปแบบการคอมเมนต์ด้วยสัญลักษณ์ /** Java doc */Javadoc จะใช้อธิบายคลาส (Classes) อินเตอร์เฟส (Interfaces) คอนสตักเตอร์ (Constructor) คุณสมบัติ (Attribute หรือ Properties หรือ Variable)และเมธอด (Methods)ใน การสร้างเอกสาร html โดยวางส่วนของ Javadoc ไว้ก่อนการระบุชื่อ เช่น

การสร้างเอกสารในจาวา (Javadoc) Javadoc คือ เครื่องมือที่สร้างเอกสารเป็น html คล้ายๆ กับการอ้างอิงที่ Java.sun.com จากการคอมเมนต์แบบ Javadoc ในโค้ดใน Javadoc จะรู้จักรูปแบบการคอมเมนต์ด้วยสัญลักษณ์ /** Java doc */Javadoc จะใช้อธิบายคลาส (Classes) อินเตอร์เฟส (Interfaces) คอนสตักเตอร์ (Constructor) คุณสมบัติ (Attribute หรือ Properties หรือ Variable)และเมธอด (Methods)ใน การสร้างเอกสาร html โดยวางส่วนของ Javadoc ไว้ก่อนการระบุชื่อ เช่น

การคอมไพล์ Javadoc
            การสร้างเอกสาร html จากคลิปส์สามารถสร้างได้โดย เลือก Project->Generate java doc.. อีคลิปส์สามารถคอมไพล์ Javadoc ตามรูปที่ระบุ Path ที่มี Javadoc.exe เลือก Path ปลายทาง (แต่ละเครื่องอาจไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับการติดตั้ง) อีคลิปส์ก็จะสร้างไฟล์ html ให้โดยอัตในมัติ


หลักสากลนิยมในการระบุชื่อ

Class Names
กำหนดชื่อเป็นคำนาม,คำแรกและคำที่สองขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ เช่น
  public Class DogAndCat {
                                     / /  Class body
                                        
 }

มื่อรวมแล้วคลาสดังกล่าวจะได้โครงสร้างคลาสดังนี้

                               package Openstandard .ch02 ;
                               public Class DogAndcat {
                               public int weight ;
                               public int LEG_NUMBER = 4 ;

                               public void canwalk ( ) {
                                      // Method body
                               }
}

ชนิดของข้อมูลในภาษาจาวา

ชนิดข้อมูลดั้งเดิม (Prrimitive data type)

            ข้อมูลดั้งเดิมในภาษาจาวามีอยู่ 8 ประเภท ซึ่งเราสารถนำมาใช้งานได้ Integer Type คือ ข้อมูลชนิดเลขจำนวนเต็มโดยแบ่งออกเป็น Byte, Shot, lnt, Long ซึ่งชนิดเลขจำนวนเต็มแต่ละชนิดจะใช้หน่วยความจำที่แตกต่างกัน ฉะนั้น ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ประโยชน์ของโปรแกรมเมอร์ที่จะนำไปใช้ เช่น ใช้กับระบบปฎิบัติการชนิดต่างๆ


ข้อมูลคลาส(Class Type หรือ Reference Type) 
            ในภาษาจาวานั้นคลาสประกอบไปด้วย ชนิดของคลาส, ชื่อของคลาส, ตัวแปรของคลาส และ methods ชนิดของคลาสนั้นอาจจะเป็น public หรือ private ถ้าเป็น Public class หมายถึงคลาสที่มองเห็นได้โดยคลาสที่อยู่ภายนอกหรือภายใน package แต่ถ้าเป็น Private class คลาสที่อยู่นอก package จะไม่สามารถเรียกใช้คลาสนี้ได้ คลาส Instructor จากโปรแกรมที่ 3 ข้างบนเป็นคลาสแบบ public ตัวแปรของคลาสนั้นก็แบ่งเป็นชนิดเหมือนกัน แบ่งได้สามชนิด ถ้าเป็นตัวแปรแบบ private ตัวแปรนั้นจะถูกมองเห็นภายในคลาสเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น method getClassSched() ของคลาส Scheduler ไม่สามารถอ้างถึงตัวแปร name ของคลาส Instructor ได้โดยตรงแต่ต้องเอาค่าของ name โดยผ่านการเรียก method getName() ของคลาสนั้น แต่ถ้าตัวแปร name ถูก declare ไว้เป็นแบบ public แล้วล่ะก็ Instructor จะสามารถอ้างถึง name ได้โดย


การใช้งานทางคณิตศาสตร์ในภาษาจาวา

นิพจน์ (Experssion)                     

            ทางคณิตศาสตร์นั้นเป็นนิพจน์ที่ใช้ในการคำนวณ ซึ่งนิพจน์ทางคณิตศาสตร์นั้นจะมีรูปแบบเหมือนกับสมการคณิตศาสตร์ แต่จะประกอบไปด้วย ค่าคงที่หรือตัวแปร ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า ตัวถูกดำเนินการ (Operand) แล้วเชื่อมกันด้วยเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ หรือเรียกอีกอย่างว่า ตัวดำเนินการ (Operator) นั่นเอง
ชนิดของตัวดำเนินงาน (Operator)
            ตัวดำเนินการที่ใช้ในการกำหนดค่านั้นจะเป็นเครื่องหมาย = การทำงานของตัวดำเนินการนี้จะทำการนำค่าที่อยู่ทางด้านขวาของตัวดำเนินการไป เก็บไว้ในตัวแปรทางด้านซ้ายของตัวดำเนินการสิ่งที่อยู่ด้านขวาของตัวดำเนิน การนั้นอาจจะเป็นนิพจน์ทางคณิตศาสตร์ หรือจะเป็นตัวแปรก็ได้ รูปแบบ [ตัวแปร] = [นิพจน์] Simple Assignments (การกำหนดค่าแบบง่าย) Simple Assignments จะมีรูปแบบเหมือนกับรูปแบบด้านบน หรือเหมือนกับสมการทางคณิตศาสตร์ทั่วไป
 

ตัวอย่างที่ 2.17


ผลการรันโปรแกรมตัวอย่างที่ 2.17


ตัวดำเนินการเชิงเปรียบเทียบ (Relational Opeators)
            สิ่งสำคัญในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือ การเปรียบเทียบซึ่งจะต้องมีตัวดำเนินการในการเปรียบเทียบระหว่างตัวแปรต่างๆของแต่ละนิพจน์เพื่อเป็นเงื่อนไขในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งตามผู้ที่เขียนโปรแกรมต้องการให้โปรแกรมต้องการโห้โปรแกรมเขียนทำงานต่อเนื่องโดยเป็นผลลัพให้เป็น True หรือ False เท่านั้น
ตัวดำเนินการทางตรรกะ (Logical Operators)
            ตัวดำเนินการทางตรรกะ เป็นตัวดำเนินการเกี่ยวข้องกับนิพจน์ที่สามารถบอกค่าความจริงเป็นจริง(true) หรือเท็จ (false)ได้ หรือชนิดข้อมูลตรรกะ เช่น ตัวแปรประเภท boolean ผลลัพธ์ที่ได้จากการกระทำจะได้ค่าคงที่ตรรกะเป็น true หรือ false ตัวดำเนินการทางตรรกะได้แก่เครื่องหมาย !, &&, &, ||, |, ^ มีตัวอย่างการ

ตัวอย่างที่ 2.18



ตัวดำเนินการระดับบิต (Bitwise Operators)
            คือกลุ่มของเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่ใช้ทำงานเหมือนกับฟังก์ชัน แต่แตกต่างกันตรงไวยากรณ์หรือความหมายในการใช้งาน ในภาษา Python นั้นสนับสนุนตัวดำเนินการประเภทต่างๆ สำหรับการเขียนโปรแกรม เช่น ตัวดำเนินการ + เป็นตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ที่ใช้สำหรับการบวกตัวเลขเข้าด้วยกัน หรือตัวดำเนินการ > เป็นตัวดำเนินการเพื่อให้เปรียบเทียบค่าสองค่า

การแปลงชนิดของข้อมูล
            เมื่อเราเขียนโปรแกรมมักจะพบว่า ใช้ตัวดำเนินการกับตัวแปรของชนิดข้อมูลแตกต่างกัน เพื่ออำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรมภาษา C จึงได้กำหนดกฎเกณฑ์ดังนี้ ถ้าค่าตัวแปร หรือค่าคงที่ต่างชนิดกัน ให้ทำการเปลี่ยนชนิดของข้อมูลที่มีขนาดเล็กให้เป็นชนิดของข้อมูลที่ใหญ่ขึ้น

การสร้างและใช้งานเมธธอด
            การสร้างและใช้งานเมธธอดในภาษาจาวานั้นจะต้องยึดหลักและรูปแบบการเขียนภาษาจาวาเป็นอย่างดี เนื่องจากเราจะนำหลักการของการโปรแกรมเชิงวัตถุมาใช้ ฉะนั้นการสร้างเมธธอดต่างๆ จะต้องมีวัตถุประสงค์อย่างชัดเจรตามหลักการซึ่งควรคำนึงการออกแบบโปรแกรมด้วย โดยปกติคลาสในภาษาจาวาจะประกอบไปด้วยสำคัญ คือ คลาส คุณสมบัติ และเมธธอด และคุณสมบัติบางประการที่ทำให้แต่ละคลาสเชื่อมโยงความสำพันธ์ระหว่างกัน ดังนี้ 


การใช้งานเมธธอด

            การใช้งานเมธธอดเป็นสิ่งสำคัญมาก แต่จะมีขั้นตอนที่แตกต่างจากการเขียนโปรแกรมแบบเดิม คือ จะต้องทำการสร้าง Object หรือ Instance ก่อนที่จะมีการเรียกใช้งานทั้งคุณสมบัติหรือเมธธอดต่างๆ ที่คลาสแต่ละคลาสสัมพันธ์กัน 

การส่งค่าไปยังเมธธอด

            เมธอด เป็นกลุ่มของคำสั่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่บางอย่าง การสร้างเมธอดจะสามารถทำให้เราใช้โค้ดนั้นซ้ำๆ โดยที่ไม่ต้องเขียนโปรแกรมใหม่ เมื่อสร้างเมธอดในภาษา Java มันสามารถที่จะเรียกใช้งานได้จากส่วนใดๆ ของโปรแกรม ขึ้นกับขอบเขตและระดับการเข้าถึงที่ได้กำหนดขึ้น โดยรูปแบบในการสร้างเมธอดในภาษา Java



ขอบเขตของตัวแปร

ตัวแปรที่คุณต้องการใช้งานในแอพพลิเคชันหนึ่งๆ จะมีมากมายหลายชนิด สิ่งหนึ่งที่คุณควรทราบก็คือ ตัวแปรแต่ละตัวมีขอบเขต การใช้งานเป็นอย่างไร หัวข้อนี้จะเป็นการอธิบาย ข้อจำกัดและขอบเขตของตัวแปร ใน VB สามารถแบ่งขอบเขตตัวแปรได้ 2 ประเภท คือ

 1.ตัวแปรแบบ Local

 2.ตัวแปรแบบ Public


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น